รับตรง Portfolio คณะการสื่อสารมวลชน สาขา ภาพยนตร์ดิจิทัล (สองภาษา) โครงการผู้มีความสามารถพิเศษทางภาพยนตร์ดิจิทัล มช. 🎓
สาขา ภาพยนตร์ดิจิทัล (สองภาษา)
- จำนวนที่รับ
- แบบ 1.1 : 20 ที่นั่ง
- แบบ 1.2 : 0 ที่นั่ง
คุณสมบัติผู้สมัคร📚
- สำหรับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฯ
- เป็นผู้กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 (5 เทอม) ไม่น้อยกว่า 2.75
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 (6 เทอม) ไม่น้อยกว่า 2.75
- สำหรับหลักสูตรอาชีวศึกษา
- เป็นผู้กำลังศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 มีผลการเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ 1-3 (5 เทอม) ไม่น้อยกว่า 2.75
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ มีผลการเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ 1-3 (6 เทอม) ไม่น้อยกว่า 2.75
- สำหรับหลักสูตรการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)
- เป็นผู้กำลังศึกษานอกระบบ/อัธยาศัย ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมเทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 (5 เทอม) ไม่น้อยกว่า 2.75
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษานอกระบบ/อัธยาศัย ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมเทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 (6 เทอม) ไม่น้อยกว่า 2.75
- สำหรับหลักสูตรเทียบวุฒิการศึกษาเท่ากับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในระบบการคัดเลือกกลาง (เช่น GED)
- มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ไม่น้อยกว่า 2.75 โดยให้เป็นไปตามประกาศเรื่อง เกณฑ์การเทียบผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) สำหรับผู้ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ ตามลิงก์แนบ https://cmu.to/XlqDK
- เป็นไปตามประกาศสมาคมที่ประชุมอธิการบดีฯ เรื่อง เกณฑ์การเทียบวุฒิการศึกษาเท่ากับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา
- เป็นผู้มีความสามารถพิเศษและมีผลงานการนำเสนอด้านภาพยนตร์หรือภาพยนตร์สั้น ที่ได้รับรางวัลด้านภาพยนตร์หรืองานภาพเคลื่อนไหว ตั้งแต่ระดับนานาชาติ ระดับชาติ ระดับเขต ระดับจังหวัด ระดับท้องถิ่นและระดับโรงเรียน โดยมีผลงานที่เกี่ยวข้องด้านใดด้านหนึ่ง ดังนี้.-
- ภาพยนตร์หรือภาพยนตร์สั้น
- งานที่เกี่ยวข้องกับ Motion Graphic หรืองานเทคนิคภาพพิเศษ (Visual Effect)
- ผลงานด้านศิลปะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง - ผู้ที่กำลังศึกษาต้องเป็นผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อจากโรงเรียน แห่งละไม่เกิน 5 คน (หากสถาบันใดเสนอรายชื่อนักเรียน/นักศึกษา ในโครงการนี้เกินกว่าที่กำหนด คณะฯ จะไม่รับพิจารณานักเรียน/นักศึกษา จากสถาบันดังกล่าว) กรณีผู้สำเร็จการศึกษาต้องมีหนังสือเสนอชื่อจากอาจารย์ที่ปรึกษาในสถาบันการศึกษาเดิมหรือสถาบันการศึกษาในปัจจุบัน โดยการเสนอชื่อจากสถาบันหรือผู้เสนอชื่อตามข้อนี้ให้ระบุเหตุผลในการเสนอชื่อด้วย
- ต้องส่งแฟ้มสะสมผลงานที่มีบุคคลใดบุคคลหนึ่งต่อไปนี้เป็นผู้รับรอง ได้แก่ อาจารย์ที่ปรึกษา กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ รับรอง (เอกสารเสนอชื่อจากโรงเรียนและหนังสือรับรองแฟ้มสะสมผลงาน ไม่ต้องนำไปใส่ไว้ในแฟ้มสะสมผลงาน ให้แยกออกมาแนบพร้อมกับใบสมัคร)
- แฟ้มสะสมผลงานไม่เกิน 10 หน้า ไม่รวมปกหน้า - หลัง (หากเกิน 10 หน้าจะไม่รับพิจารณา) โดยจัดทำแฟ้มสะสมผลงานรูปแบบไฟล์ PDF รายละเอียดข้อมูลในแฟ้มสะสมผลงานให้ใช้ฟอนต์ที่สามารถอ่านได้ง่าย ขนาดตัวอักษรไม่น้อยกว่า 16 และในแฟ้มสะสมผลงานต้องประกอบด้วยเนื้อหาตามรูปแบบที่กำหนด ทั้งนี้ แฟ้มสะสมงานจะต้องแสดงถึงความสามารถพิเศษด้านภาพยนตร์หรืองานภาพเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องและระบุบทบาทหน้าที่ในผลงาน/กิจกรรมอย่างชัดเจน โดยกรรมการจะพิจารณาคุณค่าของผลงานที่เผยแพร่ในระดับนานาชาติ ระดับชาติ ระดับเขต ระดับจังหวัด ระดับท้องถิ่นและระดับโรงเรียน และผลงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามลำดับ
- คณะการสื่อสารมวลชนจะพิจารณาผู้ที่ผ่านการคัดเลือกในโครงการผู้มีความสามารถพิเศษทางด้านภาพยนตร์ดิจิทัล ให้ได้รับทุนการศึกษาตลอดหลักสูตร จำนวน 2 คน ๆ ละ 1 ทุน โดยจะได้รับทุนการศึกษาปีการศึกษาละ 45,000.-บาท (สี่หมื่นห้าพันบาทถ้วน) ทั้งนี้ เงื่อนไขการได้รับทุนการศึกษาต่อเนื่องให้เป็นไปตามประกาศของคณะฯ
- ผลการพิจารณาและการตัดสินของคณะกรรมการทุกขั้นตอนถือเป็นที่สิ้นสุด
เอกสารประกอบการสมัคร 📝
- ใบสมัคร
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- ใบแสดงผลการเรียน
- แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
- หลักฐานการชำระเงิน
- หนังสือเสนอชื่อผู้สมัครจากโรงเรียน ลิงก์เอกสารประกอบ
- หนังสือรับรองแฟ้มสะสมผลงาน ลิงก์เอกสารประกอบ
⏰ กำหนดการสำคัญ
- ลงทะเบียน Tcas : 28 ตุลาคม 2567
- รับสมัคร: 5-14 พฤศจิกายน 2567
- ประกาศผู้มีสิทธิ์สัมภาษณ์: 12 ธันวาคม 2567
- สอบสัมภาษณ์: 21-22 ธันวาคม 2567
- ประกาศผล: 13 มกราคม 2568